SS License
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตามนโยบาย THAILAND 4.0 ของรัฐบาล โดยการพิจารณาปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมาย หรือกฎ ข้อบังคับที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีพ หรือการประกอบอาชีพ เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน ตลอดจนพิจารณาปรับปรุงกฎหมาย หรือกฎ ข้อบังคับ ที่มีผลใช้บังคับอยู่ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ
กลไกขับเคลื่อนโครงการ คือ “คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของประชาชน” โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูลรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานอนุกรรมการฯ ภายใต้กำกับของคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายโดยมีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมการฯ ซึ่งจะพิจารณาให้ความเห็นชอบการทบทวนกฎหมายและเสนอต่อรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
เป้าหมาย
วัตถุประสงค์
ทำเพื่อใคร ได้ประโยชน์อะไร : ลดค่าใช้จ่าย ลดระยะเวลา และเพิ่มความโปร่งใส
ประชาชน
ความสะดวก รวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ภาคเอกชน
ยกระดับการทำงานที่เกี่ยวกับการอนุญาต โดยการลดขั้นตอน ลดเอกสาร เพิ่มความรวดเร็ว
ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อประสานงาน
ภาครัฐ
ลดกระบวนการทำงาน และระยะเวลาของหน่วยงานราชการ รวมถึงสามารถนำฐานข้อมูลไปใช้
ในการวิเคราะห์ภาพรวมกระบวนการขออนุญาต เพื่อใช้ทบทวนการยกเลิกกฎหมาย หรือกระบวนงาน
ที่เกี่ยวกับการอนุญาตในอนาคต
แนวทางการทำงาน (Conceptual Framework)
คำนวนต้นทุนอันเกิดจากการบังคับใช้กฎหมาย
จัดทำข้อเสนอแนะการทบทวนใบอนุญาตภายใต้หลักการ 5Cs ประกอบด้วย Cut Continue Combine Change และ Create
กล่าวคือ เมื่อได้ศึกษาใบอนุญาตตาม Conceptual Framework พร้อมคำนวณตัวเลขภาระที่ประชาชนต้องแบกรับจากกฎหมาย กฎ ระเบียบ และกระบวนงาน และเป็นภาระบุคลากร ภาครัฐก็สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาแก้ไขปรับปรุง โดยรัฐจะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ความจำเป็นความเหมาะสม เพื่อตอบโจทย์การพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ และความได้สัดส่วนระหว่างสภาพปัญหากับมาตรการที่เลือกใช้ รวมถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ ดังนั้น แนวทางการจัดทำข้อเสนอแนะจะดำเนินการภายใต้หลักการ 5Cs ต่อประเด็นกฎหมาย กฎ ระเบียบ และกระบวนงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้